วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่9

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557



สำหรับวันนี้เป็นวันที่อาจารย์นัดส่งสื่อและนำเสนอสื่อที่ตนเองได้ทำมาของแต่ละกลุ่ม



สื่อของกลุ่มดิฉันชื่อ   ลูกเต๋าสารพัดหน้า






สื่อชิ้นนี้สามารถเล่นได้หลากหลายวิธี

- การเรียงลำดับจากตัวเลขน้อยไปมากหรือมากไปน้อย
- การเรียงลำดับจากรูปเรขาคณิต
- การเรียงลำดับจากสีต่างๆ
- การเล่นตามจินตนาการ เช่น ทำเป็นรถไฟ บ้าน  กำแพง เป็นต้น



           เด็กสามารถได้คณิตศาสตร์สำหรับสื่อชิ้นนี้คือ เรขาคณิต การเรียงลำดับ  จำนวนนับ
การรวมกลุ่ม เป็นต้น ทำให้เด็กเกิดความสนุกสนานได้ใช้จินตนาการในการคิดต่างๆ





สื่อที่น่าสนใจของเพื่อนในชั้นเรียน






ชื่อสื่อ ฝาแฝด


      สื่อชิ้นนี้เด็กได้เรียนรู้รูปเรขาคณิตและสามารถใช้จินตนาการของตนเองในการคิดหาสิ่งของต่างๆที่มีรูปทรงคล้ายเรขาคณิต เด็กได้สติปัญญาจากสื่อ สื่อนี้น่ารักและมีสีสันสดใส








บันทึกอนุทินครั้งที่8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วันศุกร์ที่ 24 มกราคม 2557



    สำหรับการเรียนครั้งนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มช่วยกันคิดทำแผนการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



แผนการสอนของกลุ่มดิฉันชื่อ ตักๆเติมๆ








สำหรับแผนนี้สามารถเชื่อมกับกิจกรรมกลางแจ้งได้ด้วย


ความรู้ที่ได้สำหรับครั้งนี้ คือ วิธีการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องและตรงกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การระดมสมองการใช้ความคิดร่วมกันของเพื่อนในกลุ่ม สามารถนำแผนการสอนอื่นๆที่เชื่อมกับคณิตศาสตร์มาใช้ร่วมกันได้










บันทึกอนุทินครั้งที่7

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2557


      
      สำหรับวันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาร่วมกันทำในห้องเรียน มีทั้งหมด 2กิจกรรม ดังนี้


กิจกรรมที่ 1 อาจารย์สอนเนื้อหาเกี่ยวกับแผนภูมิชนิดต่างๆที่ใช้สำหรับเด็กปฐมวัย จากนั้นให้นักศึกษาจับกลุ่มกันแล้วส่งตัวแทนมาจับสลากว่าแต่ละกลุ่มจะได้ทำแผนภูมิอะไร เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กเรื่องความน่าจะเป็น


กลุ่มของดิฉันได้ทำแผนภูมิแท่ง










ขั้นสรุป  ครูสรุปจากจำนวนผลไม้ที่นักเรียนชอบมากที่สุดและชอบน้อยที่สุด






กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ให้จับกลุ่ม 5-6 คน ทำสื่อการสอนเกี่ยวกับพีชคณิต เราสามารถแทรกเนื้อหาของจำนวนนับเลขลงไปในสื่อก็ได้




ผลงานของกลุ่มดิฉันและภาพขณะทำกิจกรรม





















สื่อชิ้นนี้สามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยได้






*************************************************

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่  10  มกราคม พ.ศ. 2557



     สัปดาห์นี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

มาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของารแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง



สาระที่ 2 การวัด

มาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา





สาระที่ 3 เรขาคณิต

มาตรฐาน ค.ป.3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ






สาระที่ 4 พีชคณิต

มาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์






สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ






สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์






...........................................................................











บันทินอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556





     วันนี้อาจารย์เข้าสอนเกี่ยวกับ เรขาคณิต โดยอาจารย์จะรูปเรขาคณิตแจกมาให้ ได้แก่
รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม





               ให้นักศึกษาเลือกรูปเรขาคณิตคนละ 1 รูป  แล้ววาดรูปเรขาคณิตที่ได้เลือกไว้หลังจากนั้นส่งต่อให้เพื่อนคนที่ต้องการรูปเรขาคณิตนี้เหมือนกัน  นักศึกษาใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบเรขาคณิตที่ตนเองเลือกสามารถประกอบเป็นรูปอะไรได้บ้าง แล้วนำมาติดบนกระดาษ A 4  พร้อมตกแต่งให้สวยงาม





ผลงานของดิฉัน

เลือกรูปเรขาคณิต คือ สี่เหลี่ยม   ออกแบบเป็นรูป  ปลา






++++++++++++++++++++++++++++++++++


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556


    วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน อาจารย์แจกเอกสารเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจากมาตรฐานสู่ห้องเรียนและแจกใบประเมินให้ทุกคนประเมินงานที่ทุกกลุ่มได้นำเสนอ



มี 5 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

- นับปากเปล่าจาก 1ถึง 20
- บอกจำนวนสิ่งของต่างๆได้ไม่เกิน 20
- อ่านและเขียนตัวเลขได้
- เปรียบเทียบจำนวนสิ่งของต่างๆได้
- การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม


กลุ่มที่ 2 การวัดและการตวง

- วัดและบอกความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆรอบตัวได้
- ชั่งและบอกน้ำหนักของสิ่งต่างๆได้ ว่า หนัก เบา
- ตวงและบอกปริมาตรของสิ่งต่างๆได้ โดยใช้เครื่องที่เหมาะสม


กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต


รู้จักจำแนกของรูปเรขาคณิต ที่เด็กๆเคยเห็น ทรงกลม ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงรี ได้ จากประสบการณ์ที่เขาเคยได้เรียนรู้มาและสามารถนำรูปเรขาคณิตต่างๆแสดงความคิดสร้างสรรค์ตามจินตนาการของตนเองได้
 

กลุ่มที่ 4 พีชคณิต

- ต่อภาพหรือแบบจากชุดที่กำหนดให้ได้
- สามารถเชื่อมโยงภาพความสัมพันธ์ได้


กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น


การสุ่มหยิบลูกปิงปองในแก้ว ซึ่งลูกปิงปองมี 5 ลูก สีส้ม 3 ลูก สีขาว 2 ลูก แล้วให้เด็กคาดว่าจะหยิบได้ลูกสีไหน



*** จากนั้นอาจารย์ได้สรุปการนำเสนอของแต่ละกลุ่มและพร้อมให้คะแนน อธิบายการนำไปใช้เวลาการเรียนการสอนให้กับเด็ก




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ความรู้ที่ได้รับ


จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์

- เพื่อให้เด็กเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
- เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคำตอบ
- เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
- เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง


ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

การสังเกต (Observation)
- การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันในการเรียนรู้
- โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัถุ

การจำแนกประเภท (Classifying)
- การแบ่งประเภทสิ่งของโดยการหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่ง
- เกณฑ์ในการจำแนก คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์

การเปรียบเทียบ (Comparing)
- เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป
- เด็กจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นๆ และรู้จักคำศัพท์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้

การจัดลำดับ (Ordering)
- เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
- การจัดลำดับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์

การวัด (Measurement)
- มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอนุรักษ์
- การวัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ อุณหภูมิ เวลา ระยะทาง ความยาว น้ำหนัก ปริมาณ

รูปทรงและขนาด (Sharp and Size)
- เก็ดส่วนใหญ่จะมีความรู้เกี่ยวกับรูปทรงและขนาดก่อนจะเข้าโรงเรียน


คำศัพท์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

 ตัวเลข  = น้อย มาก น้อยกว่า มากกว่า ไม่มี ทั้งหมด
 ขนาด  = ใหญ่ คล้าย สองเท่า ใหญ่ที่สุด สูง เตี้ย
 รูปร่าง  = สามเหลี่ยม วงกลม สี่เหลี่ยม ยาว โค้ง สั้นกว่า แถว
 ที่ตั้ง   = บน ต่ำ ขวา สูงที่สุด ยอด ก่อน ระยะทาง ระหว่าง
 ค่าของเงิน = สลึง ห้าสิบสตางค์ หนึ่งบาท ห้าบาท สิบบาท
 ความเร็ว   = เร็ว ช้า เดิน วิ่ง คลาน
 อุณหภูมิ  = เย็น ร้อน อุ่น เดือด



กิจกรรมในห้องเรียน

    
       อาจารย์แจกกระดาษให้คนละ1แผ่น ให้นักศึกษาวาดรูปวงกลมตรงกลางกระดาษ จากนั้นก็เขียนเลขที่ตนเองชอบไว้ในวงกลมที่วาด อาจารย์แจกกระดาษสี กาว กรรไกร สี ให้ตกแต่งใบไม้ตามจำนวนที่ตนเองได้เขียนไว้ให้สวยงาม